วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การออกแบบระบบเครือข่ายนั้น ก็ขึ้นอยู่ว่าผู้ว่าผู้ดูแลระบบเข้าทำงานในบริษัทขนาดใด ในขั้นนี้คิดว่าคงพอมองภาพเกี่ยวกับการออกแบบระบบเครือข่ายขนาดต่างๆ กันแล้ว โดยในการออกแบบระบบเครือข่ายนั้นผู้ดูแลระบบควรศึกษาและรู้จักสัญญาลักษณ์ต่างๆ
ในระบบเครือข่ายกันว่า เขาใช้สัญญาลักษณ์อย่างไรกันบ้าง สำหรับในรูปที่ผ่านมาจะเห็นว่า ผู้เขียนยังไม่วาง Firewall และ IDS โดยในส่วนนี้จะกล่าวอีกครั้งในขั้นตอนสุดท้าย คือขั้นตอนที่ 10

 
โปรแกรมที่นิยมในการออกแบบระบบเครือข่ายในปัจจุบันคือ Microsoft Visio โดยใน Visio จะมีสัญญาลักษณ์ในการออกแบบระบบเครือข่ายอย่างครบครันในฐานะเป็นผู้ดูแลระบบเครือข่าย จำเป็นต้องศึกษาและใช้งานเครื่องมือตัวนี้ให้คล่องเช่นกัน

 
การเชื่อต่อแบบนี้เป็นการติดต่อที่ง่ายที่สุดและถูกที่สุด ในการสร้างเครือข่ายระบบนั้น เราเพียงกำหนดแค่สองส่วน คือ “IP Address” ของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แล้วเชื่อมต่อด้วย Hub กับ Switch โดยจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ต่อกับโมเด็มอยู่แล้ว เป็นเครื่องที่เชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แล้วทำการเปิดบริการ Internet Connection Sharing (ICS) เพื่อทำการแชร์อินเทอร์เน็ตให้เครื่องลูกข่ายภายในเวิร์กกรุ๊ป (Workgroup) เดียวกัน การเชื่อมต่อลักษณะนี้เหมาะสมสำหรับองค์การที่มีแผนกเดียว
การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดกลางด้วย ADSL Routerเป็นระบบเครือข่ายที่มีเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก และอาจมีการแบ่งเครือข่ายเป็นส่วนย่อย ๆตัวอย่างเช่น ระบบธนาคารบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ,บริษัทการบินไทย ,บริษัทไอบีเอ็ม,กรมสรรพากรเป็นต้น ในการออกแบบระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีความสลับซับซ้อนมากและคำนึงถึงระบบความปลอดภัยเป็นหลัก 

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

การแชร์เครื่องพิมพ์(printer) ใน Windows7

การแชร์ปริ้นเตอร์ใน Windows 7

เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการแชร์ปริ้นเตอร์



แชร์เครื่องปริ้นเตอร์


 



เปิดระบบป้องกันการเข้าใช้แบบสาธารณะ ถ้าไม่เปิดก็ได้แต่เครื่องที่ต้องการเข้ามาใช้ต้องล๊อกอินก่อนใช้เครื่องปริ้น


คลิกเลือก Turn off เพื่อปิดระบบล๊อกอิน

จากนั้นดูไอพีเครื่องที่แชร์ปริ้นเตอร์



เสร็จขั้นตอนการแชร์ที่เครื่องแม่

ขั้นตอนการเข้าใช้ปริ้นเตอร์ที่เครื่องลูก


กดปุ่ม Windows+r แล้วพิมพ์ตามขั้นตอนที่ 13



หรือจะเข้าแบบนี้ก็ได้แล้วเอนเทอร์




ดับเบิ้ลคลิกที่ปริ้นเตอร์ตามขั้นตอนที่ 14





การตั้งเครื่องปริ้นเตอร์เป็นเครื่องหลัก



 

การแชร์ข้อมูลในเครือข่ายด้วย Windows 7

วิธีการแชร์ไฟล์ใน Windows 7

1.อันดับแรกเราต้องทำการเปิดการแชร์ของ network ที่เราใช้อยู่เสียก่อนให้เข้าไปที่ control panel  -> Network and Internet -> Network and Sharing Center เมื่อกดเข้ามาแล้วจะพบกับหน้าต่างดังภาพ

 


2.คลิ๊กเลือกไปที่ Change advanced sharing setting เพื่อเข้าสู่เมนูของการปรับแต่งค่าของ Network ซึ่งจุดนี้สำคัญเราต้องปรับค่าให้ตรงกับ Network ที่เราใช้อยู่ โดยทั่วไปจะมี Home , Work network และ Public ซึ่งถ้าเราใช้ Network ตัวไหนอยู่ก็ให้ทำการปรับค่าที่ Network นั้นซึ่งในตัวอย่างเป็น Network แบบ Public เมื่อกดเข้าไปเราหาเมนูดังภาพด้านล่าง



3.ทำการเปิด Network discovery , File and printer sharing และ Public folder sharing โดยติ๊กเลือกที่ Turn on ดังภาพด้านบน จากนั้นเลื่อนลงมาด้านล่างสุดหาคำว่า Password protected sharing ทำการ Turn of ค่านี้ดังภาพด้านล่าง





4.เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยให้กด Save Change แล้วปิดหน้าต่างออกมาได้เลย จากนั้นมาเข้าสู่กระบวนการแชร์ไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟโดยทำนำเมาส์ไปชี้ที่ไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟที่ต้องการจะแชร์ คลิ๊กขวาเลือก properties เพื่อเรียกหน้าต่างสำหรับปรับแต่งค่าขึ้นมา จากนั้นเลือกไปที่หัวข้อ Sharing จากนั้นเลือกไปที่ Share คลิ๊กหนึ่งครั้ง




5.เมื่อคลิ๊กที่คำสั่ง Share แล้วจะปรากฏหน้าต่างสำหรับกำหนดสิทธิ์ ตรงจุดนี้ไม่ต้องใส่ใจเลือกคลิ๊กไปที่ Share ที่อยู่ด้านล่างได้เลยดังภาพ





6.เมื่อเสร็จสิ้นการแชร์แล้ว เราจำเป็นจะต้องกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟที่เราได้ทำการแชร์เมื่อครู่นี้โดยเลือกไปที่หัวข้อ Security เพื่อทำการกำหนดสิทธิ์โดยเมื่อคลิ๊กเข้าไปก็จะพบกับหน้าต่างดังภาพด้านล่าง



7.เลือกไปที่ Edit เพื่อเข้าสู่เมนูการเพิ่มสิทธิ์ จากนั้นเลือกไปที่ add




8.พิมพ์คำว่า everyone ลงในช่อง Enter the object names to select จากนั้นกด Check Name หากพิมพ์ถูกต้องก็จะปรากฏคำว่า Everyone ขึ้นมาดังภาพด้านล่างจากนั้นกด OK



9.เมื่อทำการเพิ่มชื่อแล้วให้กลับมาดูที่ช่องของการกำหนดสิทธิ์ในส่วนของ Group or user names ถ้ามี Everyone ปรากฎอยู่ก็เป็นอันเสร็จให้กด OK ออกมาได้เลยเท่านี้เครื่องเราก็จะสามารถทำการแชร์ไฟล์ได้ตามปกติแล้ว

การเข้าหัว RJ-45

การเข้าหัว RJ-45 ตามมาตรฐาน

ตารางที่ 1 แบบ T568B Crossover  
RJ-45
CABLE (CAT 5)
Pin
Symbol
Color
1
TD+ขาวส้ม
2
TD-ส้ม
3
RX+ขาวเขียว
4
Not Assignedน้ำเงิน
5
Not Assignedขาวน้ำเงิน
6
RX-เขียว
7
Not Assignedขาวน้ำตาล
8
Not Assignedน้ำตาล



ตารางที่ 2 แบบ T568A (Cross)

RJ-45
CABLE (CAT 5)
Pin
Symbol
Color
1
TD+ขาวเขียว
2
TD-เขียว
3
RX+ขาวส้ม
4
Not Assignedน้ำเงิน
5
Not Assignedขาวน้ำเงิน
6
RX-ส้ม
7
Not Assignedขาวน้ำตาล
8
Not Assignedน้ำตาล

วิธีการเข้าหัวทั้ง 2 แบบ
- การเข้าแบบธรรมดา เป็นการเชื่อมต่อแบบต่างอุปกรณ์ เช่น การใช้สายต่อกันระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ Switch หรือ HUB

Crossover Cable
RJ-45 PINRJ-45 PIN
1 Rx+1 Rc+
2 Rc-2 Rc-
3 Tx+3 Tx+
6 Tx-6 Tx-
 
 
Straight Through Cable
RJ-45 PINRJ-45 PIN
1 Tx+1 Rc+
2 Tx-2 Rc-
3 Rc+3 Tx+
6 Rc-6 Tx-
- การเข้าแบบไขว้ หรือ Cross เป็นการเข้าสายแบบ เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน เช่น HUB to HUB ,Switch To Swich หรือ คอมพิวเตอร์อ กับ คอมพิวเตอร์ เราสามารถที่จะใช้ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ NoteBook

Crossover Cable
RJ-45 PINRJ-45 PIN
1 Rx+3 Tx+
2 Rc-6 Tx-
3 Tx+1 Rc+
6 Tx-2 Rc-
 
 
Straight Through Cable
RJ-45 PINRJ-45 PIN
1 Tx+1 Rc+
2 Tx-2 Rc-
3 Rc+3 Tx+
6 Rc-6 Tx-

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

การรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย


การรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย
 
องค์กรจำนวนมากได้สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในองค์กร มีการใช้มาตรฐานเดียวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราเรียกเครือข่ายเฉพาะในองค์กรนี้ว่า อินทราเน็ต อินทราเน็ตเชื่อมโยงผู้ใช้ทุกคนในองค์กรให้ทำงานร่วมกัน มีการกำหนดการทำงานเป็นทีมที่เรียกว่า เวอร์กกรุป แต่ละทีมมีระบบข้อมูลข่าวสารของตน มีสถานีบริการข้อมูลที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ การทำงานในระดับเวอร์กกรุปจึงเน้นเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม เช่น ทีมงานทางด้านการขาย ทีมงานทางด้านบัญชี การเงิน การผลิต ฯลฯ
อินทราเน็ต ได้รวมทีมงานต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขององค์กร มีการแลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกัน ใช้ทรัพยากรทางคอมพิวเตอร์ร่วมกัน มีระบบการทำงานที่เรียกว่า เวอร์กโฟล์ว (workflow)
อย่างไรก็ดี การทำงานขององค์กรมิได้กำหนดขอบเขตเฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น หลายองค์กรนำเครือข่ายอินทราเน็ตของตนเองเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อให้การทำงานเชื่อมโยงกับองค์กรอื่นได้ การทำงานร่วมกับองค์กรอื่นเป็นหนทางของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อความรวดเร็ว ความสะดวกสบายในการทำงาน องค์กรจำนวนมากมีโฮมเพ็จของตนเองเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ มีการรับใบคำสั่งซื้อจากภายนอก หรือให้บริการหลังการขายโดยตรงทางเครือข่าย
เมื่อนำเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรเชื่อมเข้าสู่เครือข่ายสาธารณะ ย่อมมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร การรักษาความปลอดภัยจึงเป็นระบบที่ต้องคำนึงถึง ถึงแม้ว่าจะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายของระบบก็จำเป็นต้องทำ เพราะหากเกิดปัญหาในเรื่องข้อมูลข่าวสารหรือการรั่วไหลของข้อมูลแล้ว ความสูญเสียจะมีมากกว่า
ระบบการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่มีในขณะเรียกเข้าหาระบบคือ รหัสพาสเวิร์ด หรือรหัสผ่าน ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบ เช่น เรียกใช้เซิร์ฟเวอร์เพื่อขอข้อมูลข่าวสาร จำเป็นต้องทราบว่าใครเป็นผู้เรียกเข้าหา โดยให้ผู้เรียกป้อนรหัสพาสเวิร์ด ผู้ใช้ทุกคนจะมีรหัสเฉพาะของตน จำเป็นต้องให้ผู้ใช้กำหนดรหัสที่ยากต่อการถอดโดยผู้อื่น โดยหลักการพื้นฐานควรกำหนดรหัสนี้ให้มีความยาวไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษร ควรให้มีการผสมระหว่างตัวอักขระพิเศษและตัวเลขด้วย เช่น mypo@123! ไม่ควรนำเอาคำศัพท์ในพจนานุกรม หรือใช้ชื่อ ใช้วันเกิด เพราะรหัสเหล่านี้ง่ายต่อการถอด อย่านำรหัสนี้ให้กับผู้อื่น และควรเปลี่ยนรหัส เมื่อใช้ไปได้ระยะเวลาหนึ่ง
ไฟร์วอล เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดให้เป็นทางผ่านเข้าออก เพื่อป้องกันการแปลกปลอมของแฮกเกอร์ภายนอกที่จะเจาะเข้าระบบ และยังควบคุมการใช้งานภายใน โดยกำหนดสิทธิ์ของแต่ละบุคคลให้ผ่านออกจากระบบได้ ดังนั้นเมื่อมีการนำเอาเครือข่ายอินทราเน็ตขององค์กรเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเทอร์เน็ต ระบบไฟร์วอลจึงเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่ใช้ในการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
โดยปกติมักใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นไฟร์วอล เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะมีการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสองด้าน ด้านหนึ่งเชื่อมกับอินทราเน็ต อีกด้านหนึ่งเชื่อมกับ อินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงเป็นเสมือนยามเฝ้าประตูทางเข้าออก เพื่อตรวจสอบการเข้าออกของบุคคล
ไฟร์วอลจะควบคุมสิทธิ์ และติดตามการใช้งาน เช่น กำหนดให้บุคคลภายนอกเข้ามาใช้ได้ในกรอบที่จำกัด และเมื่อเข้ามาก็จะติดตามการใช้งาน หากมีความพยายามจะใช้เกินสิทธิ์ เช่น การ ล็อกออนไปยังเครื่องที่ไม่มีสิทธิ์ก็จะป้องกันไว้ ขณะเดียวกันอาจเป็นตัวตรวจสอบเอกสารหรือข้อมูลบางอย่าง เช่น จดหมาย หรือแฟ้มข้อมูล
ระบบของไฟล์วอลมีหลายระดับ ตั้งแต่การใช้อุปกรณ์สื่อสาร เช่น เราเตอร์ทำหน้าที่เป็น ไฟร์วอล เพื่อควบคุมการติดต่อสื่อสาร หรือป้องกันผู้แปลกปลอม จนถึงขั้นการใช้คอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ ไฟร์วอลอันทรงประสิทธิภาพ
เมื่อมีการโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน โดยเฉพาะการโอนย้ายผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็น เครือข่ายสาธารณะ ผู้ใช้จะไม่ทราบเลยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นผ่านไปที่ใดบ้าง เช่น เมื่อเราส่งใบสั่งซื้อที่มีรหัสหายเลขบัตรเครดิตไปยังบริษัทร้านค้าที่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ข้อมูลของเราอาจผ่านไปยังที่ต่าง ๆ หลายแห่ง อาจมีผู้ไม่หวังดีแอบคัดลอกข้อมูลของเราไว้ก็ได้ ปัญหาเช่นนี้ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินธุรกิจ เป็นผลทำให้ระบบธุรกิจบนเครือข่ายยังไม่เติบโตเท่าที่ควร
ในขณะนี้จึงมีการใช้วิธีเข้ารหัส โดยผู้ส่งข้อมูลจะใช้โปรแกรมที่ทำการแปลงข้อมูลจากข้อความเดิม ให้เป็นรหัสที่ไม่มีความหมาย เราเรียกวิธีนี้ว่า เอนคริปชัน (Encryption) เอนคริปชัน จะกวนข้อมูล ทำให้ส่งข้อมูลอย่างเป็นความลับบนเครือข่ายได้ ถึงแม้จะมีผู้ลักลอบคัดลอกไปก็จะอ่านไม่รู้เรื่อง
เมื่อถึงปลายทาง ผู้ที่มีรหัสพิเศษที่ตกลงกันไว้ ที่เรียกว่า คีย์ จะทำการถอดรหัสนี้ได้ ผู้รับจะใช้โปรแกรมถอดรหัสโดยใส่ตัวอักขระที่เป็นคีย์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่รับข้อมูลจะเปลี่ยนข้อมูลกลับไปเป็นข้อความปกติ วิธีการทางด้านรับข้อมูลนี้เรียกว่า ดีคริปชัน (Decryption)
การเข้ารหัสจึงต้องมีคีย์ ซึ่งเสมือนเป็นกุญแจที่ล็อกข้อมูลไว้ ผู้รับต้องใช้กุญแจที่ตรงกันจึงจะไขดูข้อมูลได้ จึงมีวิธีการกำหนดกุญแจซึ่งเป็นรหัสและใช้งานร่วมกัน มีทั้งที่ใช้แบบมีกุญแจที่เรียกว่า มาสเตอร์คีย์และคีย์เฉพาะ เทคนิคเหล่านี้ได้พัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นไปมาก
บนอินเทอร์เน็ต มีวิธีที่ใช้ในการเอนคริปชันอยู่หลายวิธี วิธีที่ได้รับความนิยมและเป็นวิธีที่เสนอให้สาธารณะใช้ได้ คือ PGP PGP ย่อมาจาก Pretty Good Privacy PGPทำให้ข้อความที่ส่งไปเป็นความลับ ข้อความที่ใช้อาจเป็นอีเมล์ เป็นใบสั่งซื้อ เป็นแฟ้มข้อมูล PGP ใช้วิธีการที่ดี และใช้งานได้ผล เพราะวิธีการเอ็นคริปชันของ PGP เป็นวิธีการที่แฮกเกอร์ถอดรหัสได้ยาก
นอกจากวิธีการนี้แล้ว ปัจจุบันมีการพัฒนาคลิปเปอร์ชิป (clipper chip) ซึ่งเป็นวงจรฮาร์ดแวร์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเข้ารหัส เพื่อใช้ในการสื่อสารกันบนอินเทอร์เน็ต คลิปเปอร์ชิปได้รับการเสนอโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ชิปนี้ได้จัดทำขึ้นโดยที่ทางรัฐบาลสามารถถอดรหัสนี้ได้ ทำให้เกิดการโต้เถียงกันมากว่า รัฐบาลสหรัฐฯสามารถติดตามการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตได้หมด อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลสหรัฐฯ ก็อ้างว่า รัฐบาลจะถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งศาลเท่านั้น
ถึงแม้ว่าจะใช้วิธีการทางด้านการเข้ารหัสเอ็นคริปชัน และดีคริปชันแล้วก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซนต์ การสร้างกฎระเบียบและวินัยของบุคลากรในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นหนทางให้ใช้งานได้สะดวก แต่ก็เป็นเส้นทางที่ผู้แปลกปลอมจะใช้เป็นทางเข้าระบบได้ง่าย

















วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สายโคแอ็กเชียล
 สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบ เครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่
               สายโคแอกเชียล มีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" โครงสร้างของสาย
ประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่น โลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ




ส่วนแกนเป็นส่วนที่นำสัญญาณข้อมูล ส่วนชั้นใยข่ายเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกและเป็นสายดิน ในตัว ดังนั้นสองส่วนนี้ต้องไม่เชื่อมต่อกันมิฉะนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้ ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็
สามารถแบ่งสายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
               1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable หรือ Thinnet Cable) เป็น
สายที่มีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.64 cm เนื่องจากสายประเภทนี้มีขนาดเล็กและมีความยืดหยุ่นสูงจึงสามารถใช้ได้ กับการติดตั้งเครือข่ายเกือบทุกประเภท สายประเภทนี้สามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 185 เมตร ก่อนที่สัญญาณจะเริ่มอ่อนกำลัง ลง บริษัทผู้ผลิตสายโคแอ็กซ์ได้ลงความเห็นร่วมกันในการแบ่งประเภทของสายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กซ์แบบบางได้ถูกรวมไว้ใน สายประเภท RG-58 ซึ่งสายประเภทนี้จะมีความต้านทาน (Impedance) ที่ 50 โอห์ม สายประเภทนี้จะมีแกนกลางอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่เป็นสายทองแดงเส้นเดียวและแบบที่เป็นใยโลหะหลายเส้น
               2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable) สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thicknet Cable) เป็นสายโคแอ็กซ์ที่ค่อนข้าง แข็ง และขนาดใหญ่กว่าสายโคแอ็กซ์แบบบาง โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.27 cm สายโคแอ็กซ์แบบหนานี้เป็นสาย
สัญญาณประเภทแรกที่ใช้กับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต ส่วนแกนกลางที่เป็นสายทองแดงของสายโคแอ็กซ์แบบหนาจะมีขนาดใหญ่กว่า ดังนั้นสายโคแอ็กซ์แบบหนานี้จึงสามารถนำ สัญญาณ ได้ไกลกว่าแบบบาง โดยสามารถนำสัญญาณได้ไกลถึง 500 เมตร ด้วยความสามารถนี้สายโคแอ็กซ์แบบหนาจึงนิยมใช้ ในการเชื่อมต่อเส้นทางหลักของข้อมูล หรือ แบ็คโบน (Backbone) ของเครือข่ายสมัยแรก ๆ แต่ปัจจุบันได้เลิกใช้สายโคแอ็กซ์
แล้ว โดยสายที่นิยมใช้ทำเป็นแบ็คโบน คือ สายใยแก้วนำแสง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดในส่วนต่อไป

หัวเชื่อมต่อที่ใช้กับสายโคแอ็กเชียล
               ทั้งสายแบบบางและแบบหนา จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน ที่เรียกว่าหัว BNC ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสายสัญ ญาณและเน็ตเวิร์คการ์ด หัวเชื่อมต่อแบบ BNC นี้มีหลายแบบได้แก่ หัวเชื่อมสาย BNC หัวเชื่อมสายรูปตัว T หัวเชื่อมสายแบบ Barrel และตัวสิ้นสุดสัญญาณ


สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Wire)




เป็นสายชนิดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการนำมาใช้งานตามห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั่วไป รวมทั้งตามสำนักงานต่างๆ สายชนิดนี้ได้ชื่อมาจากลักษณะองค์ประกอบภายในของสาย ที่เป็นสายลวดทองแดงสองเส้นนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเพื่อทำให้เกิดเป็นสนามแม่เหล็ก ซึ่งใช้เป็นเสมือนเกราะสำหรับป้องกันสัญญาณรบกวนทั่วไปได้ในตัวเอง จำนวนรอบหรือความถี่ ในการพันเกลียว เช่น พันเกลียว 10 รอบต่อความยาว 1 ฟุต นั้นมีผลโดยตรงต่อกำลังของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ถ้าจำนวนรอบสูงก็จะทำให้สนามแม่เหล็กมีกำลังแรงขึ้น สามารถป้องกัน สัญญาณรบกวนได้ดีขึ้น แต่ก็ทำให้สิ้นเปลืองสายมากขึ้น แต่ถ้าจำนวนรอบต่ำ ก็จะเกิดสนามแม่เหล็กกำลังอ่อน ซึ่งป้องกันสัญญาณรบกวนได้น้อยลงก็ใช้สายเปลืองน้อยลงเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วสายชนิดนี้จึงมีคุณสมบัติในการป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าสายที่ไม่มีการ พันเกลียวเลยบริเวณแกน (Core) ของสายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดงจำนวนหนึ่ง หรือหลายคู่สาย ห่อหุ้มสายด้วยฉนวนบางๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการลัดวงจร แล้วนำมาพันเกลียวเข้าด้วยกันเป็นคู่ ทุกคู่จะถูกห่อหุ้มฉนวนอีกชั้นหนึ่งรวมกันเป็นสายขนาดใหญ่เพียงสายเดียว สายคู่บิดเกลียวแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
  1. แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
  2. แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)
สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย แสดงดังรูป



รูปแสดงสายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)

สาย UTP จะมีสายสัญญาณอยู่จำนวน 4 คู่ 8 เส้น ประกอบด้วย
  • เขียว - ขาวเขียว
  • ส้ม - ขาวส้ม
  • น้ำเงิน - ขาวน้ำเงิน
  • น้ำตาล - ขาวน้ำตาล

สายไฟเบอร์ออฟติค(Fiber Optic) คืออะไร

Fiber Optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายแลนทั่วๆ ไป (CAT5, CAT5e, CAT6, CAT7 เป็นต้น)?Fiber Optic เรียกเป็นภาษาไทยว่า "เส้นใยแก้วนำแสง"

คุณสมบัติของ Fiber Optic

  • Fiber Optic ภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก
  • มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่าเส้นผมของคนเรา
  • รับส่งสัญญาณได้ระยะไกลมากเป็นกิโลเมตร
  • ต้องใช้ผู้ชำนาญ และเครื่องมือเฉพาะในการเข้าหัวสัญญาณ
  • ราคาแพงหลายเท่า เมื่อเทียบกับสายแลนประเภท CAT5

Fiber Optic แบ่งออกได้ 2 ประเภท

  • เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM)
  • เส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)

การนำไปใช้งานของ Fiber Optic

  • ตึกสูงๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ทำเป็น Backbone (สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก)
  • ระบบการรับส่งสัญญาณภาพ วีดีโอ ตามพื้นที่ต่างๆ
  • การเชื่อมต่อสัญญาณระยะไกล
  • และอื่นๆ อีกมากมาย